วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปรากฎการณ์เอลนินโญ่

ปรากฎการณ์เอลนินโญ่

คำว่า ENSO เป็นอักษรย่อของคำที่นักพยากรณ์อากาศและนักวิทยาศาสตร์ เรียกเต็มๆว่า El Nino-Southern Oscillation แต่ในที่นี้มิได้มีความหมายถึงกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งๆที่เดิมทีคำนี้หมายถึง กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรที่ชาวประมงนอกชายฝั่งเปรูจะพบ เสมอในเดือนธันวาคมของแต่ละปี
El Nino เป็นคำในภาษา สเปน แปลว่า "เด็กชาย" (Child Boy) หรือ "พระกุมารเยซู" (Infant Jesus) กระแสน้ำอุ่น ที่กล่าวถึง ถูกเรียกตามชื่อนี้เนื่องจากมันจะปรากฎขึ้นนอกชายฝั่งเปรูในช่วงคริสต์มาสซึ่งตรงกับวันที่พระเยซูเจ้าถือกำเนิดมาในโลกนั่นเอง การใช้คำนี้ในปัจจุบันมีความหมายกว้างขึ้นไปอีก คือ คำว่า "Southern Oscillation" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเต็ม ได้มาจากการที่  กิล-เบิร์ต วอล์คเกอร์ (Gilbert Walker) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษคนหนึ่งได้เฝ้าสังเกตสภาวะกอากาศเมื่อต้นปี ค.ศ. ๑๙๐๐ พบว่าเมื่อความกดอากาศทั่วทวีปออสเตรเลียลดต่ำลง ความกดอากาศของเกาะตาฮิติ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของออสเตรเลียจะสูงขึ้น และจะเกิดขึ้นสลับกันไปมาของสภาวะอากาศระหว่างแถบตะวันตกและตะวันออกในซีกโลกภาคใต้ (Southern Oscillation) ดังกล่าวนี้เอง คือที่มาของชื่อปรากฎการณ์นี้
เอลนินโญ่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชาวโลกมากกว่าปรากฏการณ์ทางภูมิอากาศอื่นใดที่เกิดขึ้นของฤดูกาลจะพึงกระทำได้ ทุก ๆ ปีครึ่ง โดยประมาจะมีกระแสน้ำร้อนผิดปรกติปรากฏขึ้นในเขตเส้นศูนย์สูตรในฝั่งตะวันออกและตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก กระแสน้ำร้อนนี้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบอากาศทั้งในเขตร้อนและรวมไปถึงเอมริกาเหนือและที่อื่น ๆ
ชื่อ El Nino (EN) แต่เดิมใช้อธิบายสภาพการณ์ที่พื้นผิวน้ำทะเลในเขตนอกฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ ขณะเดียวกันจะเกิดปรากฏการณ์สภาพอากาศแปรปรวนทางภาคใต้ (Southern Oscillation หรือ SO) ในอีกซีกหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศไปทั่วท้องมหาสมุทรแปซิฟิก กระบวนการทั้งสอง คือ EN และ SO ดังกล่าวมานี้ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ ENSO ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศรอบโลก แม้ว่าเมื่อแรกเริ่ม เอลนินโญ่จะเป็นชื่อที่ใช้เรียนขานปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบริเวณเล็ก ๆ ส่วน ENSO จะเป็นชื่อที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ที่คลอบคลุมท้องมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ในปัจจุบันชื่อ El Nino หรือ ENSO ก็กลายเป็นชื่อที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ใหญ่เดียวกัน
ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
ภาพจากเวปไซต์ http://www.pmel.noaa.gov/tao/elnino/el-nino-story.html

ความรุนแรงของปรากฏการณ์เอลนินโญ่                                                                                                                      
                ปรากฏการณ์ระดับอ่อน คือ ทำให้อุณหภูมิที่พื้นผิวทะเลภาคตะวันออกของแปซิฟิกเขตร้อนสูงขึ้นจากธรรมดา 1-2 องศาเซลเซียส
            ปรากฏการณ์ระดับรุนแรง คือ ทำให้อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น 3-4 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้นจะคลอบคลุมบริเวณส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน
ปรากฏการณ์เอลนินโญ่ได้รับการตรวจสอบและจับตามองอย่างใกล้ชิดจากบรรดานักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทั่วโลกด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ใช้ดาวเทียมตรวจสอบสภาพอากาศ วางทุ่นลอยตามบริเวณที่กำหนดและคอยรับรายงานจากเรือที่แล่นข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิที่พื้นผิวน้ำ ดูการรวมตัวของกลุ่มเมฆและอื่น ๆ แม้แต่อินเทอร์เน็ต ก็มีเว็บไซต์จำนวนมากที่ทุ่มเทให้กับปรากฏการณ์นั้น นอกจากนี้ยังมีอะไรอีกหลายเรื่องที่เราจะต้องเรียนรู้ เกี่ยวกับการที่โลกร้อนขึ้น แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่มักจะเป็นหัวข้อสนทนาประจำวันของพวกเราหลายคนในปัจจุบันของเราคือ เรื่องของสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ลักษณะการอย่างหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงของอากาศ ที่มีการเผยแพร่ข่าวสารความรู้ให้แก่กันในช่วงไม่กี่ปีมานี้ก็คือ เอลนินโญ่ (El Nino)
เมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้วชาวประมงเปรูที่จับปลาแอนโชวี่ มีกำหนดเวลาที่แน่นนอนในการออกจับปลาของพวกเขาในฤดูใบไม้ร่วงเป็นประจำทุกปี ซึ่งในเวลานั้น จะเป็นช่วงที่กระแสน้ำนอกชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกเย็นลงแล้ว มักจะมีปลาตัวเล็กๆ ปรากฎตัวเวียนว่ายในบริเวณนั้นจำนวนมหาศาลแต่เจ้าปลาแอนโชวี่ที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบันมีเหลืออยู่เพียงส่วนหนึ่งของจำนวนที่เคยพบมาก่อนเท่านั้น ชาวประมงพบว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดจากกระแสน้ำมีความร้อนกว่าปกติ ร้อนเกินกว่าที่ฝูงปลาดังกล่าว อยากจะมาใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณนั้น การที่น้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติในเดือนธันวาคมซึ่งผิดฤดูกาลนี้ นับว่าเป็นปรากฎการณ์อย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า เอลนินโญ่
นอกจากนี้ยังเกิดลักษณะของปรากฎการณ์ เอลนินโญ่ ขึ้นอีก นอกเหนือจากการที่น้ำร้อนกว่าปกติ นั้นคือ การเปลี่ยนแปลงความกดดันในชั้นบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่างมหาสมุทรกับอากาศ แน่นอนย่อมต้องก่อให้เกิดผลกระทบกับสภาพภูมิอากาศทั่วโลก  ตามปกติแล้ว ความกดอากาศทางแถบตะวันออกจะสูงกว่าความกดอากาศในแถบตะวันตก เป็นเหตุให้ลมสินค้าพัดจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ข้ามตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตร ในขณะเดียวกันนั้น มันก็จะผลักดันกระแสน้ำอุ่นให้เคลื่อนตัวไปข้างหน้าเกิดมีความร้อนและความชื้นขึ้นในอากาศ ก่อให้เกิดเป็นพายุและมีฝนตกในทวีปออสเตรเลียและบางส่วนของทวีปเอเชีย แต่ในทุกๆสองสามปี ความกดอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเหตุให้ลมสินค้าพัดสวนกลับไปในทิศทางเดิม หรือว่าก็สงบราบเรียบไปโดยสิ้นเชิง ทำให้เกิดกระแสอากาศร้อนที่เคลื่อนตัวตรงไปทางทิศตะวันตกสู่ทวีปเอเชีย แล้วย้อนกลับไปที่ทวีปอเมริกาใต้อีกครั้งหนึ่ง ทางแถบตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกกระแสน้ำที่อุ่นจัดนี้ ทำให้เกิดความร้อนและความชื้นในอากาศเช่นเดียวกับที่ควรจะเกิดในแถบตะวันตก ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่ก่อตัวสูงมาก เป็นลำขึ้นไปในท้องฟ้าสูงเกือบถึง 10 ไมล์แม้ว่า ทั่วโลกจะได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนินโญ่ ก็ตาม ผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์นี้ ก็คงดูเหมือนว่ายังอยู่ห่างไกลนัก นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ผลกระทบของมัน อาจจะรับรู้ได้ไกลถึงทวีปอัฟริกา และมหาสมุทรแอนตาร์คติกทีเดียว อย่างไรก็ดี การเกิดปรากฏการณ์นี้สามารถจะรับรู้กันได้อย่างแน่นอนในทวีปอเมริกาเหนืออันเป็นที่ซึ่งมันเปลี่ยนสภาพรูปแบบของกระแสน้ำที่ไหลด้วยความเร็วพัดพาเอาพายุไปยังมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และพาเอาอากาศหนาวไม่มากนักไปยังบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ 
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ก็จะยังคงศึกษาปรากฎการณ์เอลนินโญ่อยู่ต่อไปอีก ด้วยความหวังว่าสักวัน เราคงจะได้เข้าใจถึงการก่อกำเนิดของมัน เพื่อจะได้พบวิถีทางในการพยากรณ์ถึงพัฒนาการในอนาคตที่เชื่อถือได้ของปรากฎการณ์นี้ต่อไป
ความผิดปกติของสภาพอากาศที่เกิดจากปรากฎการณ์เอลนินโญ่
ภาพจากเวปไซต์ www.usda.gov/oce/ waob/jawf/enso/forum.htm

ผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนินโญ่
  พื้นโลกรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ไม่เท่ากัน บริเวณเส้นศูนย์สูตรจะรับความร้อนมากกว่าขั้วโลกเหนือและใต้มากมาย น้ำทะเลและอากาศจะเป็นตัวพาความร้อนออกจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกทั้งสอง   วงจรถ่ายเทความร้อนนี้ฝรั่งเรียกว่า CONVECTION CELL  ความร้อนเป็นพลังงานที่ทำให้เกิด CONVECTION CELL โดยน้ำทะเลที่ผิวมหาสมุทรจะร้อนขึ้นจนระเหยกลายเป็นไอขึ้นไป น้ำอุ่นข้างล่างผิวน้ำและใกล้เคียงจะเข้ามาและกลายเป็นไออีก เป็นเหตุให้มีการไหลทดแทนของน้ำและอากาศจากที่เย็นกว่าไปสู่ที่อุ่นกว่า เกิดเป็นวงจรระบายความร้อนและความชื้นออกไปจากโซนร้อนอย่างต่อเนื่อง ในภาวะปรกติ โซนร้อนที่กล่าวถึงนี้คือบริเวณแนวเส้นศูนย์สูตรทางตะวันตก ของมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซียและออสเตรเลีย
               ลักษณะนี้ทำให้มีลมพัดจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกมาหาแนวเส้นศูนย์สูตรทางแปซิฟิกตะวันตก คนเดินเรือใบในอดีตรู้จักลมนี้ดี โดยเฉพาะชาวจีน เพราะได้อาศัยลมนี้ในการเดินทางมาค้าขายหรือหอบเสื่อผืนหมอนใบมายังเอเชียใต้ ลมนี้คือลมสินค้านั่นเองลมสินค้าได้พัดน้ำให้ไหลตามมาด้วย จากการสำรวจทางดาวเทียมพบว่าน้ำทะเลแถวอินโดนีเซียมีระดับสูงกว่าทางฝั่งเปรูประมาณครึ่งเมตร ซึ่งทางฝั่งเปรูนั้น เมื่อน้ำทะเลชั้นบนที่ร้อนได้ไหลมาทางตะวันตกตามแรงลมแล้ว น้ำทะเลด้านล่างซึ่งเย็นกว่าก็จะลอยขึ้นมาแทนที่ หอบเอาแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารปลาลอยขึ้นมาด้วย ทำให้ท้องทะเลย่านนี้มีปลาเล็กปลาใหญ่ชุกชุม เมื่อมีปลาชุกชุมก็ทำให้มีนกซึ่งกินปลาเป็นอาหารชุกชุมไปด้วย เกิดอาชีพเก็บมูลนกขายอย่างเป็นล่ำเป็นสันขึ้นมา   ส่วนทางแปซิฟิกตะวันตกนั้น เมื่อมีนำอุ่นที่ถูกลมพัดพามาสะสมไว้จนเป็นแอ่งใหญ่ จึงมีเมฆมากฝนตกชุก อากาศบริเวณนี้จึงร้อนชื้น  ที่บอกว่าน้ำทะเลร้อนและเย็นนั้น ตามปรกติก็จะร้อนและเย็นประมาณ 30 และ 22 องศาเซลเซียส ตามลำดับเมื่อเกิดเอลนินโญ่ ลมสินค้าจะมีกำลังอ่อนลงทำให้ไม่สามารถพยุงน้ำทะเลทางแปซิฟิกตะวันตกให้อยู่ในระดับสูงกว่าอย่างเดิมได้ น้ำอุ่นจึงไหลย้อนมาทางตะวันออก แอ่งน้ำอุ่นซึ่งเปรียบได้กับน้ำร้อนในกระทะใบใหญ่ซึ่งเคยอยู่ชิดขอบ   ตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก การลอยตัวของน้ำเย็นจากก้นทะเลจึงมีน้อย มีผลทำให้น้ำด้านแปซิฟิกตะวันออกอุ่นขึ้น ทีนี้ก็เกิดวงจรแบบงูกินหางขึ้น คือ น้ำทะเลยิ่งร้อน ลมสินค้ายิ่งอ่อน นี่เป็นปัจจัยให้แต่ละครั้งที่เกิดเอลนินโญ่ แอ่งนำอุ่นจะขยายใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้นทุกครั้งไป แอ่งนำอุ่นเฉพาะส่วนที่เป็นใจกลางของเอลนินโญ่ที่เกิดขึ้นระหว่างปีก่อนกับปีนี้นั้นมีขนาดใหญ่กว่าประเทศอเมริกาเสียอีก อุณหภูมิที่ใจกลางก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้สูงกว่าอุณหภูมิปกติเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า องศาแล้ว  เอลนินโญ่ คือ การไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่นในช่วงเวลาหนึ่งจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกไปแทนที่กระแสน้ำเย็นที่ไหลอยู่เดิมตามบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและบริเวณชายฝั่ง ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลได้แผ่ขยายกว้าง ส่งผลกระทบต่อการหมุนเวียนของบรรยากาศแผ่ขยายกว้างออกไป นอกเหนือจากบริเวณน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกปรากฏการณ์เอลนินโญ่มีความเชื่อมโยงด้านปรากฏการณ์ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ ซึ่งทั้งสองสิ่งได้เชื่อมโยงกัน เรียกว่าปรากฏการณ์ "เอนโซ" (ENSO : El Nino-Southern Oscillation) 
เอนโซถูกระบุว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการแปรปรวนทางภูมิศาสตร์ปีต่อปีบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ

แหล่งที่มา:มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเชียงใหม่ http://www.gifeu.com/subpong/Elnino.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น