การเลือกบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์อาหาร
แนวทางการเลือกบรรจุภัณฑ์พลาสติกในการบรรจุอาหาร
2. ไฮเดนซิตี้ โพลีเอททีลีน (High Density Polyethylene : HDPE)
3. โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride :PVC)
4. โลเดนซิตี้ โพลีเอททีลีน(Low-Density Polyethylene : LDPE)
5. โพลีโพรพิลีน(Polypropylene : PP)
6. โพลีสไตลีน (Polystyrene : PS)
7. พลาสติกผสม(Other)
ปัญหาของการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก
- การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตมิได้มาตรฐาน กล่าวคือ ปัญหาที่เกิดจากเลือกใช้ บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานจะทำให้มีสารเคมีเจือปนมากับพลาสติก เมื่อนำไปบรรจุอาหารสารเคมีที่เจือปนมากับพลาสติกจะละลายออกมาปนเปื้อนกับอาหาร ซึ่งถึงแม้สารเคมีเหล่านี้จะไม่มีผลต่อร่างกายทันที แต่หากร่างกายได้รับบ่อยๆ จะเกิดการสะสม จนก่อให้เกิดเป็นพิษเรื้อรังและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
- การใช้บรรจุภัณฑ์ผิดประเภท กล่าวคือ การนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มิได้ผลิตขึ้นมา เพื่อบรรจุอาหารมาใช้ในการบรรจุอาหาร หรือการใช้บรรจุภัณฑ์ผิดประเภทการใช้งาน เช่นการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่สามารถทนความร้อนได้มาใส่อาหารที่มีความร้อนสูง ซึ่งจะทำให้พลาสติกละลาย สิ่งนี้ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการบรรจุอาหารที่แตกต่างกันไป หากนำมาใช้ผิดประเภทอาจทำให้เกิดผลเสียได้
ข้อควรระวัง
- ไม่ควรใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีสีสันฉูดฉาดในการใส่อาหารร้อน หรือใส่อาหารที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสม หรืออาหารที่ความเป็นกรด
- ไม่ควรนำบรรจุภัณฑ์ที่เคยใช้แล้วนำกลับมาทำความสะอาดและใช้ใหม่อีกครั้ง เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของเชื้อโรคและสารเคมีตกค้างที่ทำความสะอาดออกไม่หมด
- ไม่ควรนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกบรรจุอาหารที่เป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชู เพราะกรดจะกัดกร่อนพลาสติกและสีที่ผสมอยู่ในเนื้อพลาสติก เมื่อบริโภคสารเหล่านี้จะเข้าไปสะสมในร่างกายและเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ ดังนั้นผู้ประกอบการควรใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้ว เซรามิค หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีความทนทานต่อกรดได้
ที่มา http://www.ismed.or.th/SME/src/bin/controller.php?view=knowledgeInsite.KnowledgesDetail&p=&nid=&sid=69&id=931&left=84&right=85&level=3&lv1=3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น