วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผ้าที่เรากำลังจะซื้อเป็นเป็นผ้าที่มาจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยประดิษฐ์

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผ้าที่เรากำลังจะซื้อเป็นเป็นผ้าที่มาจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยประดิษฐ์

     การทดสอบโดยการเผา

     พ่อค้าผ้าและนักออกแบบเสื้อผ้าหลายคน ใช้วิธีการนี้ในการทดสอบชนิดของผ้าเพื่อให้มั่นใจว่าผ้าที่เขาจะซื้อนั้น เป็นผ้าที่ตรงตามความต้องการ เช่นเป็นผ้าที่ผลิตโดยเส้นใยธรรมชาติหรือไม่ หรือมีส่วนประกอบของเส้นใยประดิษฐ์อยู่ด้วย เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าคุณสมบัติของเส้นใยธรรมชาตินั้นจะให้ความรู้สึกที่ สบายเวลาสวมใส่ส่วนเส้นใยประดิษฐ์ก็จะสามารถเพิ่มคุณสมบัติพิเศษเช่นทำให้ เสื้อผ้าไม่ยับเป็นต้น

แต่ถึงแม้คุณจะไม่ได้เป็นผู้ที่ชำนาญใน การดูเนื้อผ้า การทดสอบโดยการเผาก็ยังคงช่วยให้คุณสามารถมองภาพโดยรวมได้ว่าผ้าที่คุณถือ อยู่นั้นเป็นผ้าที่ผลิตมาจากเส้นใยประเภทใด

วิธีการนั้นก็แสนจะง่ายนิดเดียว คุณไม่จำเป็นต้องเผาผ้าทั้งผืนเพื่อให้ทราบถึงชนิดของผ้า คุณเพียงแต่ใช้เศษผ้าเล็กๆประมาณ4”x4”แล้วถือปลายผ้าข้างหนึ่งด้วยที่คีบ (ไม่ควรใช้นิ้วเพราะอาจเกิดอันตรายได้) จากนั้นก็จุดไฟแช็คเผาปลายผ้าด้านตรงข้ามกับที่คุณถือปล่อยให้ผ้าติดไฟสัก พักแล้วเป่าให้ดับ (เพื่อความปลอดภัย คุณควรเตรียมจานใส่น้ำรองไว้ด้านล่างด้วย) จากนั้นลองมาสังเกตุชนิดของผ้าตามนี้นะคะ


      ผ้าที่ผลิตโดยเส้นใยธรรมชาติ

     คอตต้อน
คอตต้อนเป็นเส้นใยที่ได้จากพืช เปลวไฟที่ได้จะเป็นเปลวไฟนิ่งๆและจะส่งกลิ่นเหมือนใบไม้ไหม้ เพียงแค่คุณเป่าเหมือนเวลาเป่าเทียนให้ดับ ไฟก็จะดับค่ะ หากผ้าที่คุณเผาเป็นคอตต้อนคุณจะสังเกตุได้ว่าเวลาคุณขยี้ผ้าส่วนที่ไหม้ จะมีเถ้าถ่านติดมือคุณออกมา
    
ลินิน
ลินินเป็นเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากพืช อีกเช่นเดียวกัน ผลที่ได้จากการเผาก็จะเหมือนกับคอตต้อนเพียงแต่ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าจะ ติดไฟค่ะ
    
 ไหม
ไหมเป็นเส้นใยโปรตีนที่สามารถติดไฟง่าย เปลวไฟที่ได้จะไม่ค่อยนิ่งและจะส่งกลิ่นคล้ายผมไหม้ ส่วนที่ไหม้จะเป็นเถ้าถ่านเหมือนคอตต้อตและลินินแต่จะใช้เวลานานกว่าในการ ดับไฟ
 

    ผ้าที่ได้จากเส้นใยประดิษฐ์

    ไนล่อน
ไนล่อนเป็นเส้นใยที่ได้จากปิโตรเลียม เส้นใยชนิดนี้สามารถติดไฟและละลายได้อย่างรวดเร็ว กลิ่นของมันจะเหมือนกับพลาสติกที่ถูกเผา
     
โพลีเอสเตอร์
โพลีเอสเตอร์เป็นเส้น ใยที่ได้จากถ่านหิน อากาศ น้ำและปิโตรเลียม สามารถติดไฟและละลายได้ในเวลาเดียวกัน ส่วนของผ้าที่กำลังไหม้สามารถยึดติดอยู่กับพื้นผิวใดๆที่อยู่ติดกับมันรวม ถึงผิวหนังด้วยนะคะ ควันที่ได้จากการเผาโพลีเอสเตอร์จะเป็นควันสีดำและส่วนที่ไหม้ก็จะกลายเป็น ก้อนแข็งๆดำๆ ไม่เป็นเถ้าถ่านเหมือนเส้นใยธรรมชาติค่ะ

            

ปรากฎการณ์เอลนินโญ่

ปรากฎการณ์เอลนินโญ่

คำว่า ENSO เป็นอักษรย่อของคำที่นักพยากรณ์อากาศและนักวิทยาศาสตร์ เรียกเต็มๆว่า El Nino-Southern Oscillation แต่ในที่นี้มิได้มีความหมายถึงกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งๆที่เดิมทีคำนี้หมายถึง กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรที่ชาวประมงนอกชายฝั่งเปรูจะพบ เสมอในเดือนธันวาคมของแต่ละปี
El Nino เป็นคำในภาษา สเปน แปลว่า "เด็กชาย" (Child Boy) หรือ "พระกุมารเยซู" (Infant Jesus) กระแสน้ำอุ่น ที่กล่าวถึง ถูกเรียกตามชื่อนี้เนื่องจากมันจะปรากฎขึ้นนอกชายฝั่งเปรูในช่วงคริสต์มาสซึ่งตรงกับวันที่พระเยซูเจ้าถือกำเนิดมาในโลกนั่นเอง การใช้คำนี้ในปัจจุบันมีความหมายกว้างขึ้นไปอีก คือ คำว่า "Southern Oscillation" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเต็ม ได้มาจากการที่  กิล-เบิร์ต วอล์คเกอร์ (Gilbert Walker) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษคนหนึ่งได้เฝ้าสังเกตสภาวะกอากาศเมื่อต้นปี ค.ศ. ๑๙๐๐ พบว่าเมื่อความกดอากาศทั่วทวีปออสเตรเลียลดต่ำลง ความกดอากาศของเกาะตาฮิติ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของออสเตรเลียจะสูงขึ้น และจะเกิดขึ้นสลับกันไปมาของสภาวะอากาศระหว่างแถบตะวันตกและตะวันออกในซีกโลกภาคใต้ (Southern Oscillation) ดังกล่าวนี้เอง คือที่มาของชื่อปรากฎการณ์นี้
เอลนินโญ่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชาวโลกมากกว่าปรากฏการณ์ทางภูมิอากาศอื่นใดที่เกิดขึ้นของฤดูกาลจะพึงกระทำได้ ทุก ๆ ปีครึ่ง โดยประมาจะมีกระแสน้ำร้อนผิดปรกติปรากฏขึ้นในเขตเส้นศูนย์สูตรในฝั่งตะวันออกและตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก กระแสน้ำร้อนนี้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบอากาศทั้งในเขตร้อนและรวมไปถึงเอมริกาเหนือและที่อื่น ๆ
ชื่อ El Nino (EN) แต่เดิมใช้อธิบายสภาพการณ์ที่พื้นผิวน้ำทะเลในเขตนอกฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ ขณะเดียวกันจะเกิดปรากฏการณ์สภาพอากาศแปรปรวนทางภาคใต้ (Southern Oscillation หรือ SO) ในอีกซีกหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศไปทั่วท้องมหาสมุทรแปซิฟิก กระบวนการทั้งสอง คือ EN และ SO ดังกล่าวมานี้ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ ENSO ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศรอบโลก แม้ว่าเมื่อแรกเริ่ม เอลนินโญ่จะเป็นชื่อที่ใช้เรียนขานปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบริเวณเล็ก ๆ ส่วน ENSO จะเป็นชื่อที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ที่คลอบคลุมท้องมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ในปัจจุบันชื่อ El Nino หรือ ENSO ก็กลายเป็นชื่อที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ใหญ่เดียวกัน
ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
ภาพจากเวปไซต์ http://www.pmel.noaa.gov/tao/elnino/el-nino-story.html

ความรุนแรงของปรากฏการณ์เอลนินโญ่                                                                                                                      
                ปรากฏการณ์ระดับอ่อน คือ ทำให้อุณหภูมิที่พื้นผิวทะเลภาคตะวันออกของแปซิฟิกเขตร้อนสูงขึ้นจากธรรมดา 1-2 องศาเซลเซียส
            ปรากฏการณ์ระดับรุนแรง คือ ทำให้อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น 3-4 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้นจะคลอบคลุมบริเวณส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน
ปรากฏการณ์เอลนินโญ่ได้รับการตรวจสอบและจับตามองอย่างใกล้ชิดจากบรรดานักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทั่วโลกด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ใช้ดาวเทียมตรวจสอบสภาพอากาศ วางทุ่นลอยตามบริเวณที่กำหนดและคอยรับรายงานจากเรือที่แล่นข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิที่พื้นผิวน้ำ ดูการรวมตัวของกลุ่มเมฆและอื่น ๆ แม้แต่อินเทอร์เน็ต ก็มีเว็บไซต์จำนวนมากที่ทุ่มเทให้กับปรากฏการณ์นั้น นอกจากนี้ยังมีอะไรอีกหลายเรื่องที่เราจะต้องเรียนรู้ เกี่ยวกับการที่โลกร้อนขึ้น แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่มักจะเป็นหัวข้อสนทนาประจำวันของพวกเราหลายคนในปัจจุบันของเราคือ เรื่องของสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ลักษณะการอย่างหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงของอากาศ ที่มีการเผยแพร่ข่าวสารความรู้ให้แก่กันในช่วงไม่กี่ปีมานี้ก็คือ เอลนินโญ่ (El Nino)
เมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้วชาวประมงเปรูที่จับปลาแอนโชวี่ มีกำหนดเวลาที่แน่นนอนในการออกจับปลาของพวกเขาในฤดูใบไม้ร่วงเป็นประจำทุกปี ซึ่งในเวลานั้น จะเป็นช่วงที่กระแสน้ำนอกชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกเย็นลงแล้ว มักจะมีปลาตัวเล็กๆ ปรากฎตัวเวียนว่ายในบริเวณนั้นจำนวนมหาศาลแต่เจ้าปลาแอนโชวี่ที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบันมีเหลืออยู่เพียงส่วนหนึ่งของจำนวนที่เคยพบมาก่อนเท่านั้น ชาวประมงพบว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดจากกระแสน้ำมีความร้อนกว่าปกติ ร้อนเกินกว่าที่ฝูงปลาดังกล่าว อยากจะมาใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณนั้น การที่น้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติในเดือนธันวาคมซึ่งผิดฤดูกาลนี้ นับว่าเป็นปรากฎการณ์อย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า เอลนินโญ่
นอกจากนี้ยังเกิดลักษณะของปรากฎการณ์ เอลนินโญ่ ขึ้นอีก นอกเหนือจากการที่น้ำร้อนกว่าปกติ นั้นคือ การเปลี่ยนแปลงความกดดันในชั้นบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่างมหาสมุทรกับอากาศ แน่นอนย่อมต้องก่อให้เกิดผลกระทบกับสภาพภูมิอากาศทั่วโลก  ตามปกติแล้ว ความกดอากาศทางแถบตะวันออกจะสูงกว่าความกดอากาศในแถบตะวันตก เป็นเหตุให้ลมสินค้าพัดจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ข้ามตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตร ในขณะเดียวกันนั้น มันก็จะผลักดันกระแสน้ำอุ่นให้เคลื่อนตัวไปข้างหน้าเกิดมีความร้อนและความชื้นขึ้นในอากาศ ก่อให้เกิดเป็นพายุและมีฝนตกในทวีปออสเตรเลียและบางส่วนของทวีปเอเชีย แต่ในทุกๆสองสามปี ความกดอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเหตุให้ลมสินค้าพัดสวนกลับไปในทิศทางเดิม หรือว่าก็สงบราบเรียบไปโดยสิ้นเชิง ทำให้เกิดกระแสอากาศร้อนที่เคลื่อนตัวตรงไปทางทิศตะวันตกสู่ทวีปเอเชีย แล้วย้อนกลับไปที่ทวีปอเมริกาใต้อีกครั้งหนึ่ง ทางแถบตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกกระแสน้ำที่อุ่นจัดนี้ ทำให้เกิดความร้อนและความชื้นในอากาศเช่นเดียวกับที่ควรจะเกิดในแถบตะวันตก ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่ก่อตัวสูงมาก เป็นลำขึ้นไปในท้องฟ้าสูงเกือบถึง 10 ไมล์แม้ว่า ทั่วโลกจะได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนินโญ่ ก็ตาม ผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์นี้ ก็คงดูเหมือนว่ายังอยู่ห่างไกลนัก นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ผลกระทบของมัน อาจจะรับรู้ได้ไกลถึงทวีปอัฟริกา และมหาสมุทรแอนตาร์คติกทีเดียว อย่างไรก็ดี การเกิดปรากฏการณ์นี้สามารถจะรับรู้กันได้อย่างแน่นอนในทวีปอเมริกาเหนืออันเป็นที่ซึ่งมันเปลี่ยนสภาพรูปแบบของกระแสน้ำที่ไหลด้วยความเร็วพัดพาเอาพายุไปยังมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และพาเอาอากาศหนาวไม่มากนักไปยังบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ 
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ก็จะยังคงศึกษาปรากฎการณ์เอลนินโญ่อยู่ต่อไปอีก ด้วยความหวังว่าสักวัน เราคงจะได้เข้าใจถึงการก่อกำเนิดของมัน เพื่อจะได้พบวิถีทางในการพยากรณ์ถึงพัฒนาการในอนาคตที่เชื่อถือได้ของปรากฎการณ์นี้ต่อไป
ความผิดปกติของสภาพอากาศที่เกิดจากปรากฎการณ์เอลนินโญ่
ภาพจากเวปไซต์ www.usda.gov/oce/ waob/jawf/enso/forum.htm

ผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนินโญ่
  พื้นโลกรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ไม่เท่ากัน บริเวณเส้นศูนย์สูตรจะรับความร้อนมากกว่าขั้วโลกเหนือและใต้มากมาย น้ำทะเลและอากาศจะเป็นตัวพาความร้อนออกจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกทั้งสอง   วงจรถ่ายเทความร้อนนี้ฝรั่งเรียกว่า CONVECTION CELL  ความร้อนเป็นพลังงานที่ทำให้เกิด CONVECTION CELL โดยน้ำทะเลที่ผิวมหาสมุทรจะร้อนขึ้นจนระเหยกลายเป็นไอขึ้นไป น้ำอุ่นข้างล่างผิวน้ำและใกล้เคียงจะเข้ามาและกลายเป็นไออีก เป็นเหตุให้มีการไหลทดแทนของน้ำและอากาศจากที่เย็นกว่าไปสู่ที่อุ่นกว่า เกิดเป็นวงจรระบายความร้อนและความชื้นออกไปจากโซนร้อนอย่างต่อเนื่อง ในภาวะปรกติ โซนร้อนที่กล่าวถึงนี้คือบริเวณแนวเส้นศูนย์สูตรทางตะวันตก ของมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซียและออสเตรเลีย
               ลักษณะนี้ทำให้มีลมพัดจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกมาหาแนวเส้นศูนย์สูตรทางแปซิฟิกตะวันตก คนเดินเรือใบในอดีตรู้จักลมนี้ดี โดยเฉพาะชาวจีน เพราะได้อาศัยลมนี้ในการเดินทางมาค้าขายหรือหอบเสื่อผืนหมอนใบมายังเอเชียใต้ ลมนี้คือลมสินค้านั่นเองลมสินค้าได้พัดน้ำให้ไหลตามมาด้วย จากการสำรวจทางดาวเทียมพบว่าน้ำทะเลแถวอินโดนีเซียมีระดับสูงกว่าทางฝั่งเปรูประมาณครึ่งเมตร ซึ่งทางฝั่งเปรูนั้น เมื่อน้ำทะเลชั้นบนที่ร้อนได้ไหลมาทางตะวันตกตามแรงลมแล้ว น้ำทะเลด้านล่างซึ่งเย็นกว่าก็จะลอยขึ้นมาแทนที่ หอบเอาแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารปลาลอยขึ้นมาด้วย ทำให้ท้องทะเลย่านนี้มีปลาเล็กปลาใหญ่ชุกชุม เมื่อมีปลาชุกชุมก็ทำให้มีนกซึ่งกินปลาเป็นอาหารชุกชุมไปด้วย เกิดอาชีพเก็บมูลนกขายอย่างเป็นล่ำเป็นสันขึ้นมา   ส่วนทางแปซิฟิกตะวันตกนั้น เมื่อมีนำอุ่นที่ถูกลมพัดพามาสะสมไว้จนเป็นแอ่งใหญ่ จึงมีเมฆมากฝนตกชุก อากาศบริเวณนี้จึงร้อนชื้น  ที่บอกว่าน้ำทะเลร้อนและเย็นนั้น ตามปรกติก็จะร้อนและเย็นประมาณ 30 และ 22 องศาเซลเซียส ตามลำดับเมื่อเกิดเอลนินโญ่ ลมสินค้าจะมีกำลังอ่อนลงทำให้ไม่สามารถพยุงน้ำทะเลทางแปซิฟิกตะวันตกให้อยู่ในระดับสูงกว่าอย่างเดิมได้ น้ำอุ่นจึงไหลย้อนมาทางตะวันออก แอ่งน้ำอุ่นซึ่งเปรียบได้กับน้ำร้อนในกระทะใบใหญ่ซึ่งเคยอยู่ชิดขอบ   ตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก การลอยตัวของน้ำเย็นจากก้นทะเลจึงมีน้อย มีผลทำให้น้ำด้านแปซิฟิกตะวันออกอุ่นขึ้น ทีนี้ก็เกิดวงจรแบบงูกินหางขึ้น คือ น้ำทะเลยิ่งร้อน ลมสินค้ายิ่งอ่อน นี่เป็นปัจจัยให้แต่ละครั้งที่เกิดเอลนินโญ่ แอ่งนำอุ่นจะขยายใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้นทุกครั้งไป แอ่งนำอุ่นเฉพาะส่วนที่เป็นใจกลางของเอลนินโญ่ที่เกิดขึ้นระหว่างปีก่อนกับปีนี้นั้นมีขนาดใหญ่กว่าประเทศอเมริกาเสียอีก อุณหภูมิที่ใจกลางก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้สูงกว่าอุณหภูมิปกติเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า องศาแล้ว  เอลนินโญ่ คือ การไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่นในช่วงเวลาหนึ่งจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกไปแทนที่กระแสน้ำเย็นที่ไหลอยู่เดิมตามบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและบริเวณชายฝั่ง ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลได้แผ่ขยายกว้าง ส่งผลกระทบต่อการหมุนเวียนของบรรยากาศแผ่ขยายกว้างออกไป นอกเหนือจากบริเวณน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกปรากฏการณ์เอลนินโญ่มีความเชื่อมโยงด้านปรากฏการณ์ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ ซึ่งทั้งสองสิ่งได้เชื่อมโยงกัน เรียกว่าปรากฏการณ์ "เอนโซ" (ENSO : El Nino-Southern Oscillation) 
เอนโซถูกระบุว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการแปรปรวนทางภูมิศาสตร์ปีต่อปีบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ

แหล่งที่มา:มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเชียงใหม่ http://www.gifeu.com/subpong/Elnino.html

การเลือกบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์อาหาร



การเลือกบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์อาหาร


ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์พลาสติกมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก เนื่องจากพลาสติกมีข้อดีที่เป็นประโยชน์คือสามารถป้องกันการซึมผ่านของอากาศและก๊าชได้ระดับหนึ่ง ทนต่อความร้อนหรือเย็น ทนต่อกรดหรือด่าง พลาสติกจะมีลักษณะแข็ง เหนียวและมีความยืดหยุ่นสูง มีน้ำหนักเบา ไม่นำความร้อน ไม่นำไฟฟ้า สามารถขึ้นรูปทรงได้ง่ายหลากหลายรูปแบบและหลากหลายขนาด อีกทั้งยังสามารถปรับให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานได้ เพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เหมาะสมกับการใช้งานผู้ประกอบการควรศึกษาข้อมูลดังต่อไปนี้

แนวทางการเลือกบรรจุภัณฑ์พลาสติกในการบรรจุอาหาร
บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจะแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติของการใช้งานที่แตกต่างกันไป หากท่านต้องการที่จะเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์อาหาร ท่านสามารถเลือกและสังเกตได้จากสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงอยู่บนบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดนั้นๆ เพราะสัญลักษณ์ที่แสดงอยู่สามารถบอกได้ว่าบรรจุภัณฑ์นั้นผลิตจากพลาสติกชนิดใดและมีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกบรรจุภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องท่านสามารถศึกษาได้จากข้อมูลด้านล่างนี้
1. โพลีเอททีลีน เทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephalate: PET OR PETE)
คุณสมบัติ คือ มีความโปร่งใส แข็งแรงทนทาน เหนียว ไม่แตกง่าย สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ(Gas) ได้ดี และทนต่ออุณหภูมิได้ไม่เกิน 70 ถึง 100 องศาเซลเซียส
การนำไปใช้ประโยชน์ นำไปผลิตเป็นขวดบรรจุน้ำอัดลม น้ำดื่ม น้ำมัน น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำยาบ้วนปาก กล่องขนม ฯลฯ เป็นต้น เนื่องจากพลาสติกชนิดนี้มีความคงทนต่อสภาพต่างๆ ได้ดี เช่นความเค็มของน้ำปลา อีกทั้งยังมีความใส ที่ใกล้เคียงกับขวดแก้วแต่มีน้ำเบาและมีราคาที่ถูกกว่าแก้ว พลาสติกชนิดนี้จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

2. ไฮเดนซิตี้ โพลีเอททีลีน (High Density Polyethylene : HDPE)
คุณสมบัติ คือ มีสีขุ่น มีความแข็งแรงคงทน เหนียวไม่แตกง่าย สามารถป้องการการซึมผ่านของน้ำและความชื้นได้ดี สามารถต้านทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้ และทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 105 องศาเซลเซียส
การนำไปใช้ประโยชน์ บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มีเนื้อเหนียวเป็นพิเศษ สามารถทนต่อแรงบิดและแรงอัดสูง จึงนิยมนำมาผลิตเป็นลังบรรจุสินค้าต่าง ๆ หรือนำมาผลิตเป็นขวดบรรจุนม น้ำดื่ม น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า เคมีภัณฑ์ต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น

3. โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride :PVC)
คุณสมบัติ คือ มีความแข็งแรง เหนียว ทนต่อสารเคมี ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ(Gas) และน้ำได้ดี มีน้ำหนักเบา มีความโปร่งใสมาก สามารถทนต่ออุณหภูมิร้อนเย็นได้ไม่เกิน -20 ถึง 80 องศาเซลเซียส
การนำไปใช้ประโยชน์ นำมาผลิตเป็นฟิล์มที่ใช้ห่อหุ้มอาหาร ถาดบรรจุหรือกล่องบรรจุอาหาร ขวดบรรจุน้ำ ฯลฯ เป็นต้น ในอดีตพลาสติกชนิดนี้มีสารบางชนิดก่อให้เกิดมะเร็งในตับแก่ผู้บริโภค แต่ในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาจนมั่นใจได้ว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากขึ้น

4. โลเดนซิตี้ โพลีเอททีลีน(Low-Density Polyethylene : LDPE)
คุณสมบัติ มีความเหนียวและความยืดหยุ่นสูง สามารถป้องกันการซึมผ่านของอากาศและความชื่นได้ดี ทนทานต่อสารเคมี กรดและด่าง สามารถขึ้นรูปทรงได้ง่าย เป็นฉนวนที่ดีและไม่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์
การนำไปใช้ประโยชน์ สามารนำผลิตเป็นถุงพลาสติกเพื่อใช้สำหรับบรรจุอาหาร เช่น ถุงน้ำแข็ง ถุงบรรจุอาหารแช่เย็น ซองอาหารแห้งประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารเสริมสำหรับเด็ก หรือนำไปผลิตเป็นขวดบรรจุน้ำดื่ม น้ำเกลือ น้ำยาหยอดตา หรือนำมาผลิตเป็นฟิล์มหดที่ใช้รัดปากของหรือพลาสติกที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ฯลฯ เป็นต้น

5. โพลีโพรพิลีน(Polypropylene : PP)
คุณสมบัติ มีความใส มีความเหนียวและมีความยืดหยุ่นสูง ขึ้นรูปทรงได้ง่าย สามารถป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้ดี เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี ทนทานต่อสารเคมี และไขมัน นิยมนำมาทำถุงร้อนหรือเย็น สามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟได้ และทนต่ออุณหภูมิร้อนเย็นได้ไม่เกิน -30 ถึง 130 องศาเซลเซียส
การนำไปใช้ประโยชน์ นำมาผลิตเป็นถุงพลาสติกร้อนและเย็น ฟิล์มใสห่อหุ้มอาหารที่ไม่ต้องการให้ออกซิเจนซึมผ่าน กล่องบรรจุอาหาร ขวดน้ำดื่ม ถ้วยน้ำ ฯลฯ เป็นต้น

6. โพลีสไตลีน (Polystyrene : PS)
คุณสมบัติ มีความใส แข็งแรงคงทน แต่ความยืดหยุ่นน้อยทำให้เปราะและแตกหักง่าย สามารถทำใส่สีและลวดลายต่างๆ ได้ ไม่มีกลิ่น ทนต่อกรดด่างและแอลกอฮอล์ และทนต่ออุณหภูมิร้อนเย็นได้ไม่เกิน -20 ถึง 80 องศาเซลเซียส ไม่สามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟได้
การนำไปใช้ประโยชน์ นำมาผลิตเป็นกล่องหรือถาดโฟมเพื่อบรรจุอาหาร ฝาถ้วยน้ำต่างๆ ถ้วยไอศรีม ช้อน กล่องใส่ขนม ถ้วยน้ำ ฯลฯ เป็นต้น นิยมนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เพียงครั้งแล้วทิ้ง

7. พลาสติกผสม(Other)
คุณสมบัติ เป็นพลาสติกที่เกิดจากการผสมของพลาสติกชนิดต่างๆ การจะผสมพลาสติกชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานบรรจุภัณฑ์นั้นๆ
การนำไปใช้ประโยชน์ ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความคงทนต่อการต้มหรือกลั่นหรือผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีต้องมีการกระแทกสูง


ปัญหาของการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก
บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดีก็คือมีราคาถูก น้ำหนักเบา มีความแข็งแรง สะดวกต่อการขนส่ง ขึ้นรูปทรงได้ง่ายหลากหลายรูปแบบและสามารถใส่ลวดลายสีสันได้ตามความต้องการ แต่ในข้อดีเหล่านี้มักมีข้อเสียและปัญหาต่างๆ แฝงตัวมาด้วยเสมอ ซึ่งผู้ประกอบการควรให้ความระมัดระวังอย่างมากในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติก ปัญหาที่พบในการเลือกใช้ บรรจุภัณฑ์ คือ
  • การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตมิได้มาตรฐาน กล่าวคือ ปัญหาที่เกิดจากเลือกใช้ บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานจะทำให้มีสารเคมีเจือปนมากับพลาสติก เมื่อนำไปบรรจุอาหารสารเคมีที่เจือปนมากับพลาสติกจะละลายออกมาปนเปื้อนกับอาหาร ซึ่งถึงแม้สารเคมีเหล่านี้จะไม่มีผลต่อร่างกายทันที แต่หากร่างกายได้รับบ่อยๆ จะเกิดการสะสม จนก่อให้เกิดเป็นพิษเรื้อรังและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
  • การใช้บรรจุภัณฑ์ผิดประเภท กล่าวคือ การนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มิได้ผลิตขึ้นมา เพื่อบรรจุอาหารมาใช้ในการบรรจุอาหาร หรือการใช้บรรจุภัณฑ์ผิดประเภทการใช้งาน เช่นการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่สามารถทนความร้อนได้มาใส่อาหารที่มีความร้อนสูง ซึ่งจะทำให้พลาสติกละลาย สิ่งนี้ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการบรรจุอาหารที่แตกต่างกันไป หากนำมาใช้ผิดประเภทอาจทำให้เกิดผลเสียได้

ข้อควรระวัง
  • ไม่ควรใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีสีสันฉูดฉาดในการใส่อาหารร้อน หรือใส่อาหารที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสม หรืออาหารที่ความเป็นกรด
  • ไม่ควรนำบรรจุภัณฑ์ที่เคยใช้แล้วนำกลับมาทำความสะอาดและใช้ใหม่อีกครั้ง เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของเชื้อโรคและสารเคมีตกค้างที่ทำความสะอาดออกไม่หมด
  • ไม่ควรนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกบรรจุอาหารที่เป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชู เพราะกรดจะกัดกร่อนพลาสติกและสีที่ผสมอยู่ในเนื้อพลาสติก เมื่อบริโภคสารเหล่านี้จะเข้าไปสะสมในร่างกายและเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ ดังนั้นผู้ประกอบการควรใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้ว เซรามิค หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีความทนทานต่อกรดได้

ที่มา http://www.ismed.or.th/SME/src/bin/controller.php?view=knowledgeInsite.KnowledgesDetail&p=&nid=&sid=69&id=931&left=84&right=85&level=3&lv1=3

บ้านประหยัดพลังงาน

บ้านประหยัดพลังงาน
20 แม่ไม้สำคัญ ในการเลือกบ้านประหยัดพลังงาน

1. อย่าใส่แหล่งความร้อน(ลานคอนกรีต)ในบ้าน
ภายในบริเวณบ้านไม่ควรมีลานคอนกรีตในทิศทางรับแสงแดดจัด เช่น ทิศใต้และทิศตะวันตก เนื่องจากในเวลากลางวันคอนกรีตจะกลายเป็นมวลสารสะสมความร้อน (Thermal mass)
มีการสะสมความร้อนไว้ในเวลากลางวันในปริมาณมาก ด้วยคุณสมบัติการนำความร้อนของวัสดุและจะถ่ายเทความร้อนกลับสู่บ้านของท่านในเวลากลางคืน จึงทำให้สภาพแวดล้อมของบ้านและตัวบ้านมีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย การจัดวางตำแหน่งพื้นคอนกรีตเพื่อเป็นที่จอดรถยนต์หรือชานหรือระเบียงที่ดีควรเลือกวางในทิศที่ไม่ถูกแสงแดดมาก เช่น ทิศเหนือ ทิศตะวันออกและควรมีร่มเงาจากต้นไม้ช่วยลดปริมาณแสงแดด

2. รั้วบ้าน...ต้องโล่ง...โปร่ง...สบาย
รั้วบ้านไม่ควรออกแบบให้มีลักษณะทึบตันเนื่องจากรั้วทึบจะกีดขวางการเคลื่อนที่ของลมเข้าสู่ตัวบ้านทำให้ภายในตัวบ้านอับลมนอกจากนี้วัสดุที่ใช้ทำรั้วบางชนิด เช่น อิฐมอญ คอนกรีต เสริมเหล็ก คอนกรีตบล็อก ยังมีคุณสมบัติสะสมความร้อนไว้ในตัวเองในเวลากลางวันและคายกลับสู่สภาพแวดล้อมและตัวบ้าน ในเวลากลางคืน

3. อย่าลืม!!ต้นไม้ให้ร่มเงา
การปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านนอกจากจะสร้างความร่มรื่นและความสดชื่นสบายตาสบายใจแก่ผู้อาศัยในบ้านแล้วใบไม้หลากรูปทรงและสีสันที่แผ่กิ่งก้านสาขายังสามารถลดแสงแดดที่ตกกระทบตัวบ้านและให้ร่มเงาที่ร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัยได้เป็น อย่างดีนอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดต้นไม้ใบหญ้าทั้งหลายยังช่วยลดความร้อนจากสภาพแวดล้อมด้วยการคายไอน้ำผ่านทางปากใบได้อีกด้วยซึ่งควรพิจารณาตำแหน่งการปลูกต้นไม้ใหญ่น้อยในบริเวณบ้านให้สัมพันธ์กับร่มเงาที่เกิดขึ้นกับตัวบ้านไว้ล่วงหน้า
ข้อควรระวัง! การปลูกไม้ใหญ่ใกล้บ้านเกินไป ต้องระวังรากของต้นไม้ใหญ่จะสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างของบ้านจึงควรดูความเหมาะสมของชนิดต้นไม้

4. ก่อนสร้าง อย่าลืม!!! พื้นชั้นล่างปูแผ่นพลาสติก
บ้านพักอาศัยทั่วไปในปัจจุบันทั้งชั้นล่างและชั้นบนมักติดตั้ง เครื่องปรับอากาศให้ความเย็นและลดความชื้นภายในพื้นที่ กันเป็นจำนวนมาก การเตรียมการก่อสร้างบ้านในส่วนโครงสร้างพื้นชั้นล่างควรปูแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกัน ความชื้นที่ระเหยขึ้นจากผิวดิน ซึ่งเป็นผลให้มีความเสียหายที่วัสดุปูพื้นชั้นล่าง และประเด็นที่สำคัญด้านพลังงานคือเกิดการสะสมความชื้นภายในพื้นที่ชั้นล่างของตัวบ้านเป็นที่มาของภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้นในที่สุด สิ่งที่ควรระวังระหว่างการก่อสร้างส่วนดังกล่าว คือ การฉีกขาดเสียหาย ของพลาสติกเนื่องจากเหล็กที่ใช้ในระหว่างการก่อสร้าง จึงต้องมีการเตรียมก่อสร้างไว้ล่วงหน้าเช่นกัน

5. หันบ้านให้ถูกทิศ(ลม-แดด-ฝน) จิตแจ่มใส

การออกแบบบ้านเรือนในประเทศไทยไม่ควรหลงลืมปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อนสู่ตัวบ้าน นั่นคือส่วนใหญ่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทางทิศใต้(แดดอ้อมใต้)เป็นเวลา 8-9 เดือนและด้วยมุมกระทำของดวงอาทิตย์ต่อพื้นโลกมีค่าน้อย (มุมต่ำ) จึงทำให้การป้องกันแสงแดดทำได้ยากเป็นผลให้ทิศทางดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากแสงแดดรุนแรงเกือบตลอดปี การวางตำแหน่งบ้านและการออกแบบ รูปทรงบ้านที่ดีต้องหลีกเลี่ยงการรับแสงแดดในทิศดังกล่าวนอกจากนี้ลมประจำ(ลมมรสุม)ที่พัดผ่านประเทศไทยมีทิศทางชัดเจนจากทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน และพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาวการวางผังบ้านและทิศทางตำแหน่งช่องหน้าต่างเพื่อระบายความร้อนในบ้าน จึงต้องคำนึงถึงทิศทางกระแสลมเหล่านี้เป็นสำคัญอีกด้วย

6. มีครัวไทยต้องไม่เชื่อมติดตัวบ้าน

การทำครัวแบบไทย นอกจากจะได้อาหารที่มีรสเผ็ดร้อนถูกปากคนไทยแล้วยังก่อให้เกิดความร้อนสะสมขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวในปริมาณมากอีกด้วย อันเนื่องมาจากอุปกรณ์และกิจกรรมการทำครัวต่างๆซึ่งแตกต่างจากครัวฝรั่งโดยสิ้นเชิงความร้อนที่เกิดขึ้นในห้องครัวที่ติดกับตัวบ้านจะสามารถถ่ายเทเข้าสู่พื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างรวดเร็วในลักษณะสะพานความร้อน (Thermal Bridge) และหากห้องติดกันเป็นพื้นที่ปรับ อากาศจะยิ่งสิ้นเปลืองพลังงานในการทำความเย็นของห้องดังกล่าวมากขึ้นโดยใช่เหตุ แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมระหว่างห้องครัวกับตัวบ้าน เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น

7.ประตูหน้าต่างต้องมีทางลมเข้าออก
การระบายความร้อนภายในบ้านโดยใช้ลมธรรมชาติพัดผ่านหน้าต่าง ภายในห้องต้องมีช่องทางให้ลมเข้าและลมออกได้อย่างน้อย 2 ด้านมิฉะนั้นลมจะไม่สามารถไหลผ่านได้และสิ่งที่ดีที่สุดคือการออกแบบให้ช่องหน้าต่างอยู่ตรงข้ามกันและมีขนาดใหญ่เท่าเทียมกันจะทำให้การระบายความร้อนเกิดขึ้นมากที่สุด นอกจากนี้การวางตำแหน่งช่องหน้าต่างต้องตอบรับทิศทางการเคลื่อนที่ของลมประจำด้วยแต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าลมที่นำเข้าสู่อาคารต้องทำให้เป็นลมเย็นเสียก่อนจึงจะทำให้การลดความร้อนมีประสิทธิผล
การออกแบบให้ลมไหลผ่านตัวบ้านได้ดีมีข้อควรระวังได้แก่
1.ต้องติดตั้งมุ้งลวดเพื่อกรองฝุ่นละอองเกสรที่จะเข้าบ้าน
2.การติดช่องหน้าต่างในตำแหน่งเยื้องกันจะช่วยบังคับให้ลมไหลผ่านห้องต่าง ๆ ตามตำแหน่งที่ต้องการได้

8. ผังเฟอร์นิเจอร์ต้องเตรียมไว้ก่อน ไม่ร้อนและประหยัดพลังงาน

บ้านที่ดีควรมีการจัดวางผังเฟอร์นิเจอร์ในแต่ละห้องไว้ล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการจัดเตรียมตำแหน่งติดตั้ง ปลั๊ก สวิทช์ ไว้ให้ เพียงพอสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในบ้าน นอกจากนี้การเตรียมการดังกล่าวไว้ล่วงหน้าจะตรวจสอบได้ว่าตำแหน่งใดในบ้านมีเฟอร์นิเจอร์วางกีดขวางการเคลื่อนที่ของกระแสลมหรือไม่หรือตอบรับแสงสว่าง ธรรมชาติและกระแสลมธรรมชาติมากน้อยเพียงใดและควรแก้ไขปรับปรุงอย่างไรให้ดีขึ้น ควรแยกอุปกรณ์ที่จะสร้างความร้อนออกนอกห้องปรับอากาศ เช่น ตู้เย็น เครื่องต้มน้ำ

9. อย่า!!!มีบ่อน้ำหรือนำพุในห้องปรับอากาศ
คุณสมบัติทางอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ คือ การลดอุณหภูมิและความชื้น ทำให้พื้นที่ห้องต่าง ๆ อยู่ในสภาวะสบาย ซึ่งการตกแต่งประดับพื้นที่ภายในห้องด้วยน้ำพุ น้ำตก อ่างเลี้ยงปลา หรือแจกันดอกไม้ ย่อมทำให้ภายในห้องมีแหล่งความชื้นเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นและทำให้เครื่องปรับอากาศต้องใช้พลังงานในการลดความชื้นมากกว่าปกติ

10. ช่องอากาศที่หลังคาพาคลายร้อน...
หลังคาที่ดีนอกจากจะสามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้ ยังต้องมีคุณสมบัติ ในการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อีกด้วย ภายในช่องว่างใต้หลังคา เป็นพื้นที่เก็บกักความร้อนที่แผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ก่อนถ่ายเทเข้าสู่พื้นที่ส่วนต่างๆภายในบ้านดังนั้นการออกแบบให้มีการระบายอากาศ (ร้อน) ภายในหลังคาออกไปสู่ภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องลมบริเวณจั่วหลังคาหรือระแนงชายคาจึงเป็นเรื่องที่ดีต่อการลดความร้อนในบ้าน แต่พึงระวังให้การระบายอากาศร้อนดังกล่าวอยู่เหนือฉนวนภายในฝ้าเพดาน มิฉะนั้นความร้อน จะสามารถถ่ายเทลงสู่ตัวบ้านได้อยู่ดี
ข้อควรระวัง คือ
1. ต้องมีการติดตั้งตาข่ายป้องกันนก แมลง เข้าไปทำรังใต้หลังคาด้วย
2. ต้องมีการป้องกันฝนเข้าช่องเปิดระบายอากาศด้วย

11. ต้องใส่"ฉนวน"ที่หลังคาเสมอ

ฉนวนกันความร้อนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถกั้นหรือป้องกัน ความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงแดดไม่ให้เข้าสู่บ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นจากส่วนผนังหรือหลังคาบ้าน แต่ช่องทางที่ความร้อนจากแสงแดดถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านได้มากที่สุดในเวลากลางวันคือพื้นที่หลังคา ดังนั้นการลดความร้อนจาก จากพื้นที่ดังกล่าว ด้วยการใช้ฉนวนซึ่งมีรูปแบบและการติดตั้งที่เหมาะสมกับพื้นที่ สอดคล้องกับการใช้งานจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการลดการใช้พลังงานภายในบ้าน

12. กันแสงแดดดีต้องมีชายคา

กันสาดหรือชายคาบ้านเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญกับอาคาร บ้านเรือนในเขตร้อนเช่นประเทศไทย เนื่องจากมีคุณสมบัติการ ป้องกันแสงแดด(ความร้อน)ไม่ให้ตกกระทบผนังและส่องผ่านเข้าสู่ช่องแสงและหน้าต่างได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ตำแหน่ง และทิศทางการติดตั้งกันสาดที่มีความจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านที่มีแสงแดดรุนแรง ได้แก่ ทิศใต้และทิศตะวันตก นอกจากนี้ ข้อดีอีกประการของการติดตั้งชายคาและกันสาด คือ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการป้องกันฝนเข้าสู่ ตัวบ้านอีกด้วย

13. ห้องไหนๆติดเครื่องปรับอากาศ อย่าลืมติดฉนวน
การลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศที่สำคัญ คือ ลดความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านและพื้นที่ใช้สอย ดังนั้น การติดตั้งฉนวนกันความร้อนในพื้นที่ห้องที่ปรับอากาศเพื่อลดความร้อนนอกจากจะทำให้ห้องเย็นสบายจากแสงแดดและ ป้องกันความร้อนเข้าตัวบ้านแล้วยังทำให้สภาพภายในห้องปรับลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีความร้อนสะสมอยู่ภายในห้องน้อยจึงช่วยลดค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศได้

14. บานเกล็ด บานเปิด บานเลื่อน ต้องใช้ให้เหมาะสม

หน้าต่างแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการใช้สอยที่แตกต่างกันตามความต้องการ จึงควรเลือกชนิดของหน้าต่างให้ เหมาะสมกับพื้นที่ภายในห้อง...หน้าต่างบานเปิดมีประสิทธิภาพในการรับกระแสลมสูงที่สุด...แต่อย่างไรก็ตาม ต้องจัดวางให้สอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของกระแสลมด้วย นอกจากนี้พึงระวังการใช้หน้าต่างบานเกล็ดในห้อง ปรับอากาศ เพราะหน้าต่างชนิดนี้มีรอยต่อมาก ทำให้อากาศภายนอกรั่วซึมเข้ามาได้ง่าย จึงส่งผลให้ความร้อนและ ความชื้นถ่ายเทสู่ภายในห้องได้สะดวกเช่นกัน ซึ่งเป็นผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น

15. ทาสีผนังให้ใช้สีอ่อน ไม่ร้อนดี แต่ถ้าเปลี่ยนสี(เข้ม)ต้องมีฉนวน

สีผนังมีผลต่อการสะท้อนแสงแดดและความร้อนเข้าสู่อาคารมากน้อยต่างกัน สีอ่อนจะมีคุณสมบัติสะท้อนแสงแดด และการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในบ้านดีกว่า สีเข้มตามลำดับความเข้มของสี ผนังภายนอกที่สัมผัสแสงแดดจึงควรเลือกใช้สีโทนอ่อน เช่น ขาว ครีม เป็นต้น เพื่อช่วยสะท้อนความร้อน ในทางกลับกันหากต้องการทาสีผนังภายนอกบ้านเป็นสีเข้มก็สามารถ กระทำได้ แต่ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งที่โดนแสงแดดหรือต้องมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนในบริเวณนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนเป็นการชดเชย นอกจากสีภายนอกอาคารแล้ว การทาสีภายในอาคารด้วยสีอ่อน จะช่วยสะท้อนแสงภายในห้อง เพิ่มความสว่างภายในบ้าน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้โคมไฟมากเกินไป

16. ห้องติดเครื่องปรับอากาศต้องไม่ไร้บังใบประตูหน้าต่าง

ความชื้นในอากาศที่รั่วซึมเข้าภายในอาคารบ้านเรือน (Air Infiltration) เป็นสาเหตุของภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ และ ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการป้องกันปัญหาด้วยการออกแบบที่กระทำได้ไม่ลำบากคือ การเลือกใช้ประตูและหน้าต่างห้องในบ้านที่มีการบังใบวงกบ เพื่อลดการรั่วซึมของ อากาศร้อนและความชื้นจากภายนอกที่ไหลผ่านรอยต่อวงกบ ประตู หน้าต่าง เข้าสู่ภายใน
กรณีบานหน้าต่างสามารถใช้ซิลิโคนสีใสช่วยปิดช่องอากาศรั่วได้ ส่วนกรณีบานประตูก็สามารถซื้อแผ่นพลาสติกปิดช่องอากาศรั่วมาติดเพิ่มเติม ได้ในภายหลัง โดยควรเลือกชนิดพลาสติกจะทำความสะอาดและกันลมรั่วได้ดีกว่าแบบผ้า

17. ห้องน้ำดีต้องมีแสงแดด

ผนังห้องน้ำ เป็นพื้นที่ ไม่กี่จุดในบ้านที่ควรจัดวางให้สัมผัสแสงแดดมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ด้วยเหตุผลด้านสุขอนามัยและเพื่อลดความชื้นสะสมภายในตัวบ้าน นอกจากนี้การเลือกวางตำแหน่งห้องน้ำทางด้าน ทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ยังมีข้อดีในการเป็นพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ระหว่างแสงแดดกับพื้นที่ในบ้านได้อีกด้วย
นอกจากจะต้องมีช่องแสงแดดที่มากแล้ว ควรมีช่องลมในปริมาณที่มากพอ เพื่อระบายความชื้นภายในห้องน้ำด้วยซึ่งมีข้อควรระวัง คือ ติดตาข่ายป้องกันแมลงที่ช่องลมด้วย

18. รับแสงเหนือเพื่อประหยัดแสงไฟ

ช่องแสงหรือหน้าต่างภายในบ้านควรออกแบบจัดวางให้เอื้อต่อการนำแสงธรรมชาติส่องเข้ามาภายในห้องได้ ทุกๆห้อง ไม่ว่าจะเป็นห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องอาหาร หรือแม้แต่ห้องน้ำ ห้องเก็บของและบันได เพื่อลด การใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าในบ้าน เนื่องจากแสงธรรมชาติเป็นแสงที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดและไม่เสีย ค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่มากับแสงธรรมชาติ คือความร้อน ดังนั้นทิศทางช่องแสงหรือหน้าต่างในบ้าน ที่ดีที่สุด คือทิศเหนือ เนื่องจากได้รับอิทธิพลความร้อนของแสงแดดน้อยที่สุดในรอบปี (ดวงอาทิตย์อ้อมเหนือเพียง 3 เดือน) และมีลักษณะความสว่างคงที่ (Uniform) ในแต่ละวัน

19. คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ...ต้องวางให้ถูกที่
การวางตำแหน่งคอมเพรสเซอร์ นอกจากจะพิจารณาเรื่องความ สวยงามแล้วยังมีผลอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง ปรับอากาศและการทำความเย็นภายในห้อง จึงควรเลือกวางตำแหน่ง เครื่องให้อยู่ในจุดที่พัดลมของเครื่องสามารถระบายความร้อน ได้สะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวางทิศทางลม และนอกจากนี้ตัวเครื่องต้อง ไม่ได้รับความร้อนจากแสงแดดมากนักในช่วงเวลากลางวัน เช่น ทิศเหนือหรือตะวันออก เพราะการสะสมความร้อนที่ตัวเครื่องใน ปริมาณมาก จะทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟมากขึ้น

20. ไม่ใช้หลอดไส้..หลอดร้อนหลากสี.. ชีวีเป็นสุข

หลอดไฟฟ้าชนิดหลอดไส้ (Incandescent Lamp) หลอด ฮาโลเจน (Halogen Lamp) ที่มีสีสันสวยงามเหล่านี้เป็นดวงโคม ที่นอกจากจะให้ความสว่างแล้วยังปล่อยความร้อนสู่พื้นที่ภายในห้องใน ปริมาณมาก เมื่อเทียบกับหลอดผอมหรือหลอดฟลูออเรสเซนท์ และหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนท์หรือหลอดตะเกียบ ซึ่งมี ประสิทธิภาพทางพลังงาน (Efficacy) สูงกว่า คือให้ความสว่างมาก แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่า ในห้องที่มีการปรับอากาศ การใช้งาน หลอดตระกูลหลอดไส้เหล่านี้ ทำให้ห้องมีความร้อนเพิ่มมากขึ้น และเครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น


มาทำความรู้จัก ฉนวนกันความเย็น (ฉนวนยาง) แบบต่างๆกันดีกว่าครับ

ฉนวนกันความเย็น (ฉนวนยาง)
 
 

 
 

 
AEROFLEX ฉนวนสมบูรณ์แบบในวิศวกรรมปรับอากาศ 
แอร์โรเฟลกซ์  คือ  ฉนวนชนิดท่อและแผ่นที่ผลิตจากยางอีลาสโตเมอร์ชนิดพิเศษ  (EPDM)  ประกอบไปด้วยเซลอิสระซึ่งมีผนังกั้นไม่ทัลุถึงกันเป็นจำนวนมาก  ภายในเซลบรรจุด้วยอากาศแห้ง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ฉนวนแอร์โรเฟลกซ์มีคุณสมบัติเหนือกว่าฉนวนชนิดอื่นๆดังนี้ 
n       ค่าการดูดซึมน้ำและค่าการแทรกซึมของไอน้ำหรือความชื้นจากบรรยากาศต่ำมาก n       ค่าสัมประสิทธ์การนำความร้อน(K. Value ) ต่ำและคงที่ตลอดอายุการใช้งาน n       มีความคงทนมากต่อโอโซน,รังสิตอุลตร้าไวโอเลตและสภาวะอากาศต่างๆ n       มีความยืดหยุ่นสูงสามารถโค้งงอไปตามลักษณะท่อได้ง่ายทำให้การติดตั้งทำได้รวดเร็ว   
        จากคุณสมบัติดังกล่าว แอร์โรเฟลกซ์จึงเป็นฉนวนที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับหุ้มท่อน้ำเย็นของเครื่องปรับอากาศแบบศูนย์กลาง(Chilled  water  cooling  system )และหุ้มท่อแก๊สฟรีออนของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน  (Split  type) ทั้งนี้เพื่อลดการสูญเสียความเย็นและป้องกันการเกิดหยดเหงื่อ(Condensation) อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แอร์โรเฟลกซ์ยังใช้ลดการสูญเสียความร้อนสำหรับท่อน้ำร้อนอย่างได้ผลเช่นกัน             
รักษ์สิ่งแวดล้อม  เพื่อชีวิตที่ดีกว่า 
    ฉนวยางแอร์โรเฟลกซ์เป็นสินค้าปลอดสาร  CFCs (โคโรฟลูออโรคาร์บอน) ซึ่งทำลายชั้นโอโซนของโลก และระดับของสารไนโตรซามีน  ต้ำกว่าระดับมาตรฐานของยางที่ใช้ผลิตจุกนมเด็ก จึงปลอดภัยต่อสุขภาพชีวิต  
      ฉนวนยางแอร์โรเฟลกซ์มีค่าไนโตรซามีนต่ำ ดูจากตารางประกอบ
                  วัสดุ
     ระดับของสาร
      ไน
โตรซามีน
  วิธีการทดสอบ
จุกนมเด็ก 

ฉนวนยางแอร์โรเฟลกซ์ 

ฉนวนยางชนิดอื่น
น้อยกว่า 10 PPb 

-

มากกว่า 20,000 PPb 
US.FDA

US.FDA

US.FDA
 
                 
         การค้นคว้าวิจัยแสดงให้เห็นว่า ระดับสารสารไนโตรซามีนที่สูง จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งสารนี้เข้าสู่ร่างกายได้โดยทางปาก และทางลมหายใจ ฉนวนยางแอร์โรเฟลกซ์ ซึ่งมีค่าไนโตรซามีนที่ต่ำมาก จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับการใช้งานในอาคารสูงต่างๆ
ผลิตภัณฑ์แอร์โรเฟลกซ์และการใช้งาน
แอร์โรเฟลกซ์
ชนิดท่อ (AeroflexTube Insulation)          แอร์โรเฟลกซ์มีความยึดหยุ่นสูงจึงโค้งงอได้ตามลักษณะท่อ ประกอบกับรูภายในของท่อฉนวนเคลือบด้วยแป้งลื่น (Talcum Powder)ทำให้เการติดตั้งสำหรับท่อใหม่เป็นไปอย่างง่ายดาย  เพียงแต่สวมท่อเข้าไปตามความยาวของท่อน้ำเย็น หรือท่อฟรีออน และติดรอยต่อฉนวนด้วยแอร์โรซิล (กาวประเภทนีโอพรีน) ส่วนท่อที่ติดตั้งอยู่ก่อนแล้วใช้มีดผ่าฉนวนตามแนวยาวแล้วนำไปหุ้มท่อโลหะและใช้กาวทาติดให้แน่นตามรอยผ่าของฉนวนทั้งหมด 
แอร์โรเฟลกซ์ชนิดแผ่นมาตรฐาน (Aeroflex Standard Sheet Insulation), S-series  
        แอร์โรเฟลกซ์ชนิดแผ่นมาตรฐาน  ขนาด 36x 48 ความหนาตั้งแต่ 1/8 ถึง 2 เป็นฉนวนชนิดแผ่นใช้กับท่อขนาดใหญ่ ท่อส่งลมในระบบปรับอากาศถังขนาดใหญ่หรือภาชนะ
รูปทรงต่าง ๆ เช่น ตัวเครื่องทำความเย็น เครื่องปั๊มน้ำและข้อต่อข้องอขนาดใหญ่  
แอร์โรเฟลกซ์ชนิดแผ่นตัดสำเร็จ  (Aeroflex Pre-cut Sheet Insulation), P-series  
        
แอร์โรเฟลกซ์ชนิดแผ่นตัดสำเร็จนี้ มีความหนาตั้งแต่ 1/2 ถึง 2 ความยาว 48 และความกว้างตัดได้ขนาดพอดีสำหรับหุ้มท่อเหล็กขนาดตั้งแต่ 4 IPS ขึ้นไป แผ่นยางฉนวนชนินี้ทำให้การทำงานสะดวกและประหยัดมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการและไม่มีเศษที่สูญเปล่าอีกทั้งยังมีผิวหน้าเรียบและหนาทั้งสองด้าน เป็นผลให้การป้องกันการดูดซึมน้ำและการแทรกซึมของความชื้นเป็นไปได้ดียิ่งขี้น
แอร์โรเฟลกซ์ชนิดแผ่นม้วน (Aeroflex Continuous Sheet Roll), SR-series  
        
แอร์โรเฟลกซ์ยังมีชนิดแผ่นม้วนเพื่อตอบสนองการใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น โดยมีความหนาตั้งแต่ 1/8 (3มม.) ถึง 2 (50 มม.) ความกว้าง 4 ฟุต และความยาวต่อเนื่องตั้งแต่ 8 ฟุต ถึง 150 ฟุต แอร์โรเฟลกซ์ชนิดแผ่นทั้งหมดผลิตจากยางสังเคราะห์ชนิดเดียวกันกับฉนวนแอร์โรเฟลกซ์ชนิดท่อ