วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Plastic Injection Thailand and MRP system







Plastic Injection Thailand and MRP system (Dynamics AX) http://ept.co.th
-Martial control (Lot. Vendor)
-Bar-code transfer
-Traceability

ฉีดพลาสติกและระบบ MRP
- ควบคุมวัตุดิบ (Lot. ผู้ขาย)
- รหัสบาร์การถ่ายโอน
- ตรวจสอบย้อนกลับ

注塑及MRP系统
武功的控制(Lot.供应商)
-条码转让
-可追溯性

プラスチック射出およびMRPシステム
マルシアル制御(Lot.ベンダ)
バーコードの転送を
トレーサビリティ

حقن البلاستيك ونظام جواز سفر يقرأ إلكترونيا
السيطرة على الدفاع عن النفس (Lot. البائع)
بار رمز نقل
تتبع -

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บริษัท แอร์โรคลาส จำกัด ร่วมบริจาค Boat Liner ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

บริษัท แอร์โรคลาส จำกัด  ร่วมบริจาค   Boat Liner  ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553 ณ อาคารมาลีนนท์ ช่อง 3





บริษัทแอร์โรคลาส ยังร่วมบริจาค Boat Liner ในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม ณ ที่อื่นๆอีกค่ะ
จะเก็บภาพมาให้ชม ต่อไปค่ะ

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แน่ะนำ Website ของ กลุ่มบริษัทตะวันออกโปลีเมอร์

แน่ะนำ Website ของ กลุ่มบริษัทตะวันออกโปลีเมอร์
พบกับเราได้ที่ http://epggroups.com

     กลุ่มบริษัทตะวันออกโปลีเมอร์เป็นบริษัทของคนไทยที่มีความ เชี่ยวชาญ และเป็นผู้นำในการผลิตฉนวน ยางกันความร้อน, แผ่นพสาสติกปูพื้นรถกระบะและอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์, ท่อส่งลม, โคมไฟแสงสว่างและบรรจุภัณฑ์พลาสติก
     
    กลุ่มบริษัทฯ ได้นำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ ร่วมกับการวิจัย และพัฒนา ซึ่งนอกจากทำให้ได้ผลผลิตออกมาเป็นสินค้าคุณภาพเยี่ยมแล้ว ยังช่วยในการประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัย และสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีอีกด้วย

Website พัฒนาโดย Technology : .Net 3.5 รองรับ 4 ภาษา อังกฤษ ไทย ญี่ปุ่น และ จีน มีระบบ Social network : YouTube Blogger Twitter Google-map และ Facebook

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นิตยสาร Brand Age ประจำเดือนกันยายน 2553 ฉบับที่ 9 ปีที่ 11 EPP CUP


บริษัท อิสเทร์น โพลีแพค จำกัด ก็ได้ปรับปรุงทั้งด้านการบริหารงาน กระบวนการผลิต และโรงงาน โดยซื้อเครื่องจักรใหม่ๆ เข้ามา อีกมาก เพื่อผลิต บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มใหม่ๆ ที่ ตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค จนประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็วประกอบกับเป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม บริษัทตะวันออกโปลีเมอร์อุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งมีประวัติการดำเนินธุรกิจ ด้านผลิตภัณฑ์พลาสติก โพลีเมอร์ต่างๆ อย่างครบวงจร มีเครือข่ายการผลิตทั้งในและต่างประเทศ มีบริษัทร่วมทุนกว่า 15 บริษัท มีระบบการบริหารการจัดการที่ทันสมัย และเป็นสากล มีหน่วยงานกลางด้านวิจัยและพัฒนาอย่างเข้มแข็ง มีผลงานด้านนวัตกรรม ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศกว่า 250 ฉบับ ทั้งยังมีระบบ เครือข่ายการตลาด โดยส่งออกทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ
ความสำเร็จของ อีสเทิร์น โพลีแพค มาจากคุณภาพ และมีการวิจัยพัฒนาสร้าง Innovations ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมจนถึงการร่วมเป็นทีมงานกับลูกค้าในการวิจัยพัฒนา ใส่ใจกับบริการหลังการขาย ไปจนถึงการสร้างตลาดใหม่ๆ เช่น การนำเอาแก้วขนาด 22 ออนซ์ ซึ่งทางบริษัททำให้กับร้าน แฟรนไชส์ในระดับโลก มาปรับและออกแบบเพิ่มลวดลาย พัฒนาเข้าสู่ตลาดระดับกลางและล่างกับเทรนด์การดื่มกาแฟเย็นของคนไทยที่แพร่หลายมาก จนทำให้บรรจุภัณฑ์แบบ ถุงพลาสติกแทบจะหมดไปจากตลาด หรือกล่องบรรจุอาหารแช่แข็งที่พัฒนาร่วมกับลูกค้า คือ Easy Go เป็นต้น
คุณธีระวัฒน์ วิทูรปกรณ์ Managing Director กล่าวว่า “ตลาดแพ็กเกจจิ้งแบบพลาสติกที่ใช้สำหรับอาหาร และเครื่องดื่มในประเทศโดยประมาณน่าจะมี
บริษัท อิสเทิร์น โพลีแพค จำกัด หรือ EPP เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่ใช้สำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ถ้วยน้ำดื่ม ถ้วยบรรจุไอศกรีม โยเกิร์ต กล่องและถาดบรรจุอาหาร เป็นต้น ที่ผลิตจากวัตถุดิบหลากหลายประเภท เช่น Polypropylene (PP), Polystyrene (GPPS,HIPS) และ Polyethyleneteraphathalate (PET) ซึ่งนับเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับวงการบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มไทย โดยสามารถคว้ารางวัล PM’s Export Award ประเภท Best Exporter มาครองได้
มูลค่าอยู่ที่ 2000 ล้านบาท ซึ่งที่นี่ครองตลาดอยู่ประมาณ 50% ที่เป็นแบบนี้เพราะว่าเราก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่เหมือนกันในการหาตลาดใหม่ๆ ส่วนตลาดส่งออกนั้นเราส่งออก 10% ในประเทศ 90% และกำลังขยายทำตัวเลขของการส่งออกให้มากขึ้นเป็น 30-50% ในอนาคตและตั้งเป้ายอดส่งออกในปี 2553 ไว้มากกว่า 200 ล้านบาท”
สำหรับรางวัล PM’s Export Award ที่ทางบริษัท อีสเทิร์น โพลีแพค ได้รับนั้นทางบริษัทถือเป็นความภาคภูมิใจ และเป็นกำลังใจ ในการเริ่มต้นการค้าในตลาดโลก เพราะทางบริษัทมีปณิธานอย่างมุ่งมั่น ที่จะสร้างชื่อ Brand ไทย ให้เป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้นในอนาคต....


วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มาทำความรู้จักยาง EPDM กันหน่อย

ยางเอธิลีนโพรพิลีนไดอีนหรือยาง EPDM (ethylene-propylene diene rubber)
       ในระยะแรกเริ่มที่ได้มีการสังเคราะห์โพลิเมอร์จากการทำปฏิกิริยาโคโพลิเมอไรเซชันระหว่างโมโนเมอร์ของเอธิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) จะได้โพลิเมอร์ที่มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐาน (amorphous) และเป็นยางเรียกว่า ยาง EPM แต่เนื่องจากในโมเลกุลไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์ (peroxide) ปัจจุบันได้มีการพัฒนายางชนิดใหม่โดยการเติมโมโนเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน (diene) ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาโพลิเมอไรเซชันทำให้ได้ยางที่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัวอยู่ในสายโมเลกุล จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน ยางชนิดนี้ คือ ยาง EPDM
รูปที่ 7 : สูตรโครงสร้างของยาง EPDM
       ยาง EPDM มีหลายเกรด แต่ละเกรดแตกต่างกันที่สัดส่วนของเอธิลีนและโพรพิลีน รวมถึงปริมาณของ diene โดยทั่วไปยางชนิดนี้จะมีเอธิลีนอยู่ 45-85 % โมล และปริมาณของ diene อยู่ในช่วง 3-11 % โมล ชนิดของ diene ที่ใช้อย่างกว้างขวางมี 3 ชนิดคือ Dicyclopentadiene (DCPD) Ethylidene Norbornene (ENB) และ trans-1,4-hexadiene (1,4 HD) โดยชนิดที่ใช้มากที่สุดคือ ENB เพราะจะทำให้โมเลกุลของยางว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาคงรูปด้วยกำมะถัน (surphur vulcanization)
รูปที่ 8 : สูตรโครงสร้างของ diene ที่มีอยู่ในยาง EPDM
       จากลักษณะโครงสร้างโมเลกุลจะเห็นว่ายาง EPM และ EPDM เป็นยางไม่มีขั้ว ดังนั้นจึงไม่ทนต่อน้ำมันหรือสารละลายที่ไม่มีขั้ว และเนื่องจากการจัดเรียงตัวของโมโนเมอร์ในสายโมเลกุลเป็นแบบไม่มีรูปแบบ (random) ทำให้ได้โพลิเมอร์อสัณฐาน (amorphous) ยางชนิดนี้จึงไม่ตกผลึก ส่งผลให้ค่าความทนต่อแรงดึงค่อนข้างต่ำและต้องอาศัยสารเสริมแรง (reinforcing filler) เข้าช่วย อย่างไรก็ตามในยางที่มีสัดส่วนของเอธิลีนสูงจะมีสมบัติตกผลึกได้บ้างจึงส่งผลให้ยางมีความแข็งแรงในสภาพยังไม่คงรูปสูง (high green strength) สามารถที่จะเติมน้ำมันและสารตัวเติมได้มากซึ่งเป็นจุดเด่นของยางชนิดนี้ เพราะในบางครั้งอาจเติมสารตัวเติมได้มากถึง 2 เท่าของปริมาณยางที่ใช้ (200 parts per hundred of rubber, phr) แต่ข้อเสียของยางที่มีปริมาณเอธิลีนสูงคือการบดผสมยางที่อุณหภูมิต่ำจะทำได้ยากและสมบัติของยางที่อุณหภูมิต่ำจะไม่ดีเพราะการตกผลึกของยางจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่ออุณหภูมิต่ำลง
       ยาง EPDM มีพันธะคู่ในโมเลกุลน้อยมาก ดังนั้นจึงทนต่อการเสื่อมเนื่องจากสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากสารเคมี กรด และด่าง ได้ดีอีกด้วย ยางชนิดนี้ส่วนมากจึงนิยมใช้ในการผลิตยางชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น ยางขอบหน้าต่าง แก้มยางรถยนต์ (sidewall) ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ (radiator hose) เป็นต้น ยาง EPDM ยังถูกใช้ในการผลิต ฉนวนยางกันความร้อน ฉนวนยางกันความร้อน  ท่อยางของเครื่องซักผ้า ฉนวนหุ้มสายเคเบิ้ล และใช้ผสมกับพลาสติกเพื่อปรับปรุงสมบัติบางประการของพลาสติก เช่น เพิ่มความเหนียวและความทนต่อแรงกระแทก (impact resistance) เป็นต้น
แหล่งที่มา หน่วยเทคโนโลยียาง :http://rubber.sc.mahidol.ac.th/rubbertech/IIR.htm

ฉนวนยางกันความร้อน EPDM สามารถหาซื้อได้ที่
Web http://epggroups.com/epi
โทร : + (662) 249 3976 Ext (10 สาย) 131-137 โทรสาร : + (662) 249 4098